Category: WordPress

  • Widget Logic Plugin สำหรับกำหนดเงื่อนไขการแสดงผลของ Widget : WordPress

    Widget Logic Plugin สำหรับกำหนดเงื่อนไขการแสดงผลของ Widget : WordPress

    วันก่อนมีน้องมาถามว่า มี Plugin จะทำยังไงให้ Widget แสดงผลเฉพาะหน้าที่เราต้องการได้มั้ย ยังไม่ทันได้ตอบ มันก็หาเจอไปแล้ว 555

    พอมาวันนี้ไอ้เราก็จำไม่ได้ว่า ที่มันหาเจอเป็น Plugin ตัวไหน ก็เลยเป็นสาเหตุให้ลองมาหาเองว่ามี Plugin ตัวไหนที่ถูกจริตเรา แล้วใช้กำหนดเงื่อนไขการแสดงผลในหน้าที่เราต้องการได้มั้ย ก็มาจบที่ตัวนี้ละ Widget Logic

    Widget Logic

    หลังจากติดตั้ง Plugin ตัวนี้แล้ว ไม่ต้องไปมองหาว่ามันจะไปอยู่ที่เมนูไหน เพราะมันจะไปอยู่ที่หน้าจัดการ Widget ที่เมนู Appearance => Widgets ลองดูตัวอย่างตามรูปละกัน

    Pic1
    ส่วนของ Widget Logic ที่เพิ่มขึ้นมา

    หลายคนอาจจะงงว่า แล้วเราจะใส่อะไรลงไปช่อง Widget Logic ที่เพิ่มขึ้นมา ให้ไปดูที่ Conditional Tags ของ WordPress ได้เลยครับ

    คราวนี้มาลองใส่ไปว่า is_home() ซึ่งถ้าใน Reading Settings ของเราไม่ได้ตั้งค่าอะไร มันก็คือหน้าแรกนั่นละ แต่ถ้าเราไปเลือกหน้าไหนในส่วนของ Front Page หน้าแรกของเราต้องใช้เป็น is_front_page() แทนนะครับ

    Pic2
    อันนี้ตั้งชื่อ Title ให้เวลาสังเกตผล จะได้ดูง่ายๆ

    ซึ่งในกรณีนี้ ถ้าเราไปที่หน้าแรก จะต้องมี Widget ที่มีหัวข้อ Widget Logic ปรากฎอยู่

    Pic3
    หน้าแรกของเรามี Widget หัวข้อ Widget Logic อยู่ด้านขวา

    คราวนี้ลองเข้าไปที่หน้า Archive ของเว็บบ้าง จะเห็นว่า Widget ที่มีหัวข้อ Widget Logic หายไป

    Pic4
    ในหน้า Archive จะเห็นว่า Widget หัวข้อ Widget Logic หายไป

    ซึ่งเราก็สามารถปรับเงื่อนไขต่างๆ ได้แล้วแต่เราต้องการ จะใช้ && หรือ || หรือ ! ก็แล้วแต่เงื่อนไขที่จะให้แสดงผลของแต่ละคนเลย

  • [WordPress] Advanced Access Manager

    [WordPress] Advanced Access Manager

    Advanced Access Manager นั้นเป็น Plugin สำหรับจัดการ User Roles ใน WordPress ซึ่งมันสามารถปรับเปลี่ยนสิทธิของ User Roles เดิมที่มีอยู่ของ WordPress จากที่ได้พูดถึงใน [WordPress] User Roles การกำหนดสิทธิใน WordPress และยังสามารถสร้าง User Roles ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ไม่ทับซ้อนกับของเดิม และง่ายกับการจัดการ User ของเว็บเรา

    วิธีการใช้งาน Advanced Access Manager

    เมื่อเราติดตั้ง Plugin แล้วจะมีเมนูใหม่คือ AAM ซึ่งใช้สำหรับปรับค่าต่างๆ การ Plugin ตัวนี้
    Advanced Access Manager : Menu
    โดยส่วนการควบคุมของ Plugin ตัวนี้จะมีแบ่งออกมาเป็น 3 ส่วนหลักๆ ดังรูป
    Advanced Access Manager : Panel

    เลือกเมนูที่จะแสดงผล

    เราปรับแต่งเมนูที่จะแสดงผลในแต่ละ User Roles ได้ ตัวอย่างเช่น ใน User Roles : Editor นั้น เราอยากจะซ่อนเมนู Comments และซ่อนเมนูย่อย Categories, Tags ในเมนู Posts สามารถคลิกที่หัวข้อที่จะจัดการเมนู และติ๊กเลือกได้เลย
    Advanced Acccess Manager : Manage Menu 1

    Advanced Acccess Manager : Manage Menu 2
    หลังจากนั้นก็เลือก Save ในส่วนที่ 3 หรือถ้าหลังจาก Save ไปแล้ว เราสามารถเปลี่ยนให้ค่ากลับไปยังค่าพื้นฐานเดิมของ WordPress ก็แค่เลือกที่ Roleback

    Advanced Access Manager : Save

    ปรับแต่งความสามารถของแต่ละ User Roles

    โดยการปรับแต่งความสามารถ หรือสิทธิของแต่ละ User Roles นั้น ให้ดูในส่วนที่ 1 ในหัวข้อ Capability โดยแต่ละตัวใช้กำหนดสิทธิในการทำอะไรได้บ้างนั้น ดูได้จาก Roles and Capabilities
    Capability

    เพิ่ม User Roles

    ถ้ามองไปที่ส่วนที่ 2 จะเห็นว่าเราสามารถปรับแต่งความสามารถของแต่ละ User Roles ได้จากการเลือกที่ไอคอนที่เหมือนเฟือง และเรายังสามารถเพิ่ม User Roles ขึ้นมาเป็นของตัวเองได้ที่ไอคอนเครื่องหมายบวก

    Manage User

    ซึ่งเราสามารถตั้งชื่อ และเลือกได้ว่าจะให้มีสิทธิเหมือนกับของเก่าตัวไหน

    Create New User Roles

    ก็ลองนำ Plugin ตัวนี้ไปประยุกต์ใช้งานกันดูละกันครับ เพราะจริงๆ ความสามารถของ Plugin ตัวนี้มันมีมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเข้าใจการทำงานของ Plugin มันมากแค่ไหน

  • [WordPress] remove_image_size ฟังก์ชั่นใหม่ของ WordPress 3.9

    [WordPress] remove_image_size ฟังก์ชั่นใหม่ของ WordPress 3.9

    remove_image_size() เป็นฟังก์ชั่นใหม่ที่ถูกเพิ่มมาใน WordPress 3.9 โดยจุดประสงค์หลักของมันคือ ใช้สำหรับกรณีที่เราติดตั้ง Plugin แล้วเจ้า Plugin ตัวนั้นดันใช้ชื่อที่ตั้งสำหรับรูปขนาดนั้นไว้ เป็นชื่อเดียวกับที่เราจะใช้งานแต่คนละขนาดกัน

    วิธีการใช้งาน remove_image_size

    มาดูวิธีการใช้งานของ remove_image_size() กัน ว่ามีวิธีการใช้งานยังไง

    โดย $name ก็คือ ชื่อของรูปที่เราต้องการลบออกไป // แต่ชื่อรูปที่เราไม่สามารถลบขนาดออกไปได้คือ thumb, thumbnail, medium, large, post-thumbnail หรือชื่อรูปที่เป็นมาตรฐานของ WordPress เอง

    แต่จากที่เคยใช้งานจะเป็นในกรณีที่จะปรับแต่ง Plugin ของคนอื่นมากกว่า อย่างเช่น เค้าทำ widget ที่จะดึง post ที่เราต้องการมาโชว์พร้อมรูป featured image แล้ว plugin ตัวนั้นดันใช้ขนาดที่ไม่ตรงกับที่เราต้องการใช้งาน เราก็มา remove_image_size() ขนาดรูปใน plugin ตัวนี้ แล้วก็ add_image_size() เข้าไปใหม่ในชื่อเดิม โดยเราเปิดไปที่ functions.php และใส่ code ในลักษณะนี้ลงไป

    เพื่อที่เวลา Plugin มีการอัพเดตอะไรก็ตาม ขนาดรูปก็ยังเป็นขนาดที่เราตั้งค่าไว้อยู่ดี

  • [WordPress] User Roles การกำหนดสิทธิใน WordPress

    [WordPress] User Roles การกำหนดสิทธิใน WordPress

    User Roles ใน WordPress นั้น คือการกำหนดลักษณะการใช้งานของ User นั้นๆ หรือกำหนดสิทธิในการจัดการข้อมูลต่างๆ ของเว็บที่เราทำด้วย WordPress โดยตัว WordPress เองจะมี User Roles ที่เป็นมาตรฐานมาให้แล้ว 5 ตัว โดยเรียงตามสิทธิมากที่สุด ไปหาสิทธิน้อยที่สุด คือ

    • Administrator
    • Editor
    • Author
    • Contributor
    • Subscriber

    ซึ่งโดยปรกติจากที่ได้ทำเว็บให้กับลูกค้าหลายๆเจ้า พบว่าเราจะใช้งานอยู่ 2 ตัวหลักๆ คือ Administrator และ Editor ส่วน Author, Contributor และ Subscriber ไม่ค่อยได้ใช้งานมันเท่าไหร่ โดยเราสามารถเข้าไปหาอ่านได้ว่า แต่ละตัวใช้กำหนดสิทธิการใช้งานของ User ไว้ยังไงได้ที่ https://codex.wordpress.org/Roles_and_Capabilities

    User Roles : Administrator

    สำหรับ Administrator แล้วถ้าเราเข้าไปดูตามเว็บด้านบนที่แปะไว้ จะพบว่ามี Super-Admin อีกอย่าง โดย Super-Admin มีขึ้นก็ต่อเมื่อเราใช้งานเป็น WordPress Multisite แต่ตอนนี้เราสนใจแค่ Administrator อย่างเดียวก็พอ ซึ่ง Administrator นั้นทำอะไรได้บ้าง อธิบายง่ายๆ ก็คือ ทำได้หมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเพิ่ม ลบ หรือแก้ไข Posts Pages, เปลี่ยน Theme, แก้ไขเมนู, จัดการ Plugins ฯลฯ ก็นั่นละ มันทำได้หมดทุกอย่างในเว็บเลย อ๋อ แล้วก็สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข User คนอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน ดูจากเมนูหลังบ้านของ User ที่เป็น Administrator

    User Roles - Administrator

    สรุปง่ายๆ คือ สิทธิทุกอย่างในเว็บเป็นของ Administrator

    User Roles : Editor

    สำหรับ Editor ที่มีสิทธิรองลงมาจาก Administrator นั้น ขอพูดถึงสิทธิที่หายไป จะง่ายกว่ามาอธิบายสิทธิที่มันสามารถทำได้ โดยสิทธิที่มันหายไปก็ได้แก่

    • จัดการ Theme (เมนู Appearance จะหายไป)
    • จัดการ Plugins (เมนู Plugins จะหายไป)
    • จัดการ Users คนอื่น (เมนู Users จะถูกเปลี่ยนเป็น Profile เพื่อให้จัดการข้อมูลของตัวเองได้)
    • จัดการ Settings หลักๆ ของเว็บ (เมนู Settings จะหายไป)
    • Import, Export ข้อมูล (เมนูย่อยในเมนู Tools จะหายไป)

    แต่หน้าที่ในการจัดการข้อมูลในเว็บยังอยู่ครบ เช่น การเพิ่ม ลบ แก้ไข Posts Pages, จัดการ Media, จัดการ Comments หรือเพิ่ม ลบ แก้ไข Category

    User Roles - Editor

    สรุปง่ายๆ คือ เป็น User Roles สำหรับจัดการข้อมูลต่างๆ ในเว็บ แต่ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการ Settings เว็บ

    User Roles : Author

    มาถึงตัวที่ 3 กับ Author โดย Author นั้นจะสิทธิที่หายไปจาก Editor คือ

    • จัดการ Pages (เมนู Pages จะหายไป)
    • จัดการ Posts ของ User อื่น (เข้าเมนู Posts ไปจะสามารถเห็น Posts ของ User อื่น แต่ไม่สามารถแก้ไขได้ แต่สามารถเพิ่ม ลบ Posts ของตัวเองได้)
    • จัดการ Category, Tags (เมนูย่อย Categories และ Tags ในเมนู Posts จะหายไป)

    User Roles - Author

    สรุปคือ Author จัดการได้แต่เรื่องของตัวเอง ไปยุ่งเรื่องของคนอื่นไม่ได้

    User Roles : Contributor

    สำหรับ Contributor ก็โดนตัดสิทธิให้น้อยไปกว่า Author อีก ซึ่งเจ้า Contributor เนี่ยมันเขียน Posts ใหม่ได้ แต่ไม่สามารถ Publish เองได้ ต้องรอให้ Editor เป็นคนมา Publish ให้ ดูง่ายๆ จากปุ่ม

    User Roles - Publish
    ปุ่ม Publish สำหรับ User ที่เป็น Administrator, Editor หรือ Author
    User Roles - Review
    ปุ่ม Submit for Review สำหรับ Contributor

    และถ้า Posts ที่ Contributor ถูก Editor กด Publish ไปแล้ว Contributor ก็ไม่สามารถมาจัดการอะไรได้อีก

    User Roles - Contributor

    สรุปง่ายๆ คือ Contributor สร้างได้ ถ้ายังไม่มีใครมายุ่งก็ยังจัดการได้อยู่ แต่ถ้า Editor มาแกก็ดูได้อย่างเดียวแล้ว

    User Roles : Subscriber

    สำหรับ Subscriber เนี่ย เป็นตัวที่สามารถพูดสิทธิของมันได้ง่ายมากครับ คือ จัดการได้แค่ข้อมูลตัวเอง หรือ Profile ตัวเองเท่านั้น อย่างอื่นไม่มีดูจากเมนูจะเข้าใจได้เลยครับ

    User Roles - Subscriber

    สรุปง่ายๆ คือ ยังต้องให้สรุปอีกเหรอ ก็บอกไปข้างบนแล้ว

  • [WordPress] WordPress 3.8 Parker มาแล้ว

    [WordPress] WordPress 3.8 Parker มาแล้ว

    เป็นธรรมเนียมของ WordPress อยู่แล้ว ที่จะตั้งชื่อในแต่ละรุ่นด้วยชื่อของนักดนตรี ซึ่งในเวอร์ชั่นนี้ ก็ใช้ชื่อของ Charlie Parker โดยการอัพเดตรอบนี้ เป็นการปรับให้หน้าตาของ Dashboard เหมือนกันกับที่ใช้ใน WordPress.com อยู่

    ดีไซน์ใหม่ในหน้า Dashboard

    overview

    หน้า Dashboard ถูกปรับเปลี่ยนใหม่ ให้มีรูปแบบเหมือนกับที่ใช้ใน WordPress.com

    design

    รวมถึงส่วนอื่น ๆ ในหลังบ้านของเรา ก็ถูกปรับเปลี่ยนให้ดูสะอาด และสบายตามากขึ้น

    ทำให้ใช้งานได้ดีในทุกอุปกรณ์

    responsive

    ในเวอร์ชั่นก่อน ๆ นั้น การใช้งานบนหน้าจอที่มีขนาดเล็กนั้นใช้งานได้ลำบากพอสมควร แต่ในเวอร์ชั่นนี้ได้ปรับให้ดีไซน์ให้เป็น Responsive แบบเต็มที่ รวมถึงปรับไอคอนต่าง ๆ ให้ใช้ฟอนต์แทนรูป

    เลือกสีที่ใช้ในหน้า Dashboard

    colors

    เราสามารถเลือกใช้สีที่จะใช้ในหน้า Dashboard ได้ โดยตัวระบบได้เตรียมชุดสีไว้ให้เราแล้ว 8 แบบ

    Screenshot 2013-12-13 10.27.28

    โดยเราสามารถเปลี่ยนสีได้ที่ส่วนของ Users >> Your Profile

    ปรับปรุงส่วนจัดการธีม

    Screenshot 2013-12-13 10.32.54

    โดยทาง WordPress เปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลให้เหลือแค่รูปของธีม กับชื่อของธีม และคลิ๊กที่ Theme Details เพื่อเข้าไปดูรายละเอียด

    Screenshot 2013-12-13 10.34.29

    ปรับปรุงวิธีการใช้งาน Widgets

    Screenshot 2013-12-13 10.37.17

    จากแต่ก่อนที่เราใช้วิธีลากวาง ก็เปลี่ยนมาใช้วิธีคลิ๊ก เลือกส่วนที่จะให้แสดง แล้วกด Add Widget

    Twenty Fourteen

    twentyfourteen

    และ WordPress เวอร์ชั่นใหม่ ก็มาพร้อมกับธีมมาตรฐานใหม่ คือ Twenty Fourteen ซึ่งรูปแบบการใช้งานจะออกแนวคล้าย ๆ กับการอ่าน magazine ซักเล่มนึง

    สำหรับใครที่ใช้งาน WordPress อยู่ก็อย่าลืมอัพเดตเวอร์ชั่นใหม่กันด้วยนะครับ

  • WordPress 3.5 ออกมาให้ Download ไปใช้งานได้แล้ว

    WordPress 3.5 ออกมาให้ Download ไปใช้งานได้แล้ว

    สำหรับ WordPress 3.5 นั้น มีชื่อเรียกว่า “Elvin” ถ้าติดตามชื่อของ WordPress ในแต่ละเวอร์ชั่นมา การตั้งชื่อจะเกี่ยวข้องกับนักดนตรี ซึ่งเวอร์ชั่นนี้เป็น Elvin Jones

    [wpvideo jQDfEbzZ w=600]

    โดยในเวอร์ชั่นนี้ มี Feature ใหม่ให้เราได้ใช้งานกัน ดังนี้

    New Media Manager

    WordPress 3.5 ออกมาให้ Download ไปใช้งานได้แล้ว - 1

    ปรับ Interface ให้ดูดีขึ้น

    เวลาเพิ่ม Media ต่าง ๆ หน้าตาในการ Upload และการจัดการ Media ที่เปลี่ยนไป รวมถึงการเพิ่ม Media นั้น ๆ เข้าไปใส่ในบทความชองเรา

    หน้าจัดการ Gallery ที่สวยขึ้น

    ทำให้เราสร้าง Gallery ของรูปได้เร็วขึ้นจากการ drag and drop ในการจัดลำดับรูป, ใส่ caption ได้ที่ใต้รูปเลย และการจัดการ layout ที่ง่ายขึ้น

    [divider style=”dashed”]

    New Default Theme

    WordPress 3.5 ออกมาให้ Download ไปใช้งานได้แล้ว - 2

    แนะนำให้รู้จักกับ Twenty Twelve

    ธีมมาตรฐานตัวใหม่ของ WordPress นั้น ทำมาให้ดูสะอาด ใช้งานง่าย และปรับแต่งได้สะดวก รวมถึงเป็น Responsive Theme แบบเต็มรูปแบบในทุกอุปกรณ์

    แน่นอนว่า Twenty Twelve นั้นสนับสนุนทุก Feature ที่มีของ WordPress และสามารถนำไปเป็นมาตรฐานสำหรับคนทำธีมทุกคน

    Retina Ready

    WordPress 3.5 ออกมาให้ Download ไปใช้งานได้แล้ว - 3
    สำหรับในหน้า Dashboard ทำมาให้ดูสวยงามบนหน้าจอที่ความละเอียดสูงแล้ว ไม่ว่าจะบน iPad, Kindle Fire HD, Nexus 10 และ MacBook Pro with Retina Display

    Smoother Experience

    WordPress 3.5 ออกมาให้ Download ไปใช้งานได้แล้ว - 5

    ปรับปรุงให้ผู้ใช้งาน

    WordPress ตอนนี้สนับสนุนในการใช้งานมากขึ้น ทั้งตัว Screenreaders, อุปกรณ์ที่ใช้งานด้วยวิธี Touch devices และการใช้งานที่แทบไม่ต้องใช้ mouse รวมถึงส่วนจัดการต่าง ๆ ของ WordPress อย่างเช่น Color Picker เป็นต้น

    ลองไป Download มาใช้งานกันดูนะครับ >_<