CSS : ลำดับความสำคัญของ style ใน CSS

ในการเขียน CSS เราคงสงสัยว่าทำไมถึงมีการเขียนแยกเป็น ID เป็น class จะใช้ ID อย่างเดียวเลยได้มั้ย หรือจะใช้ class อย่างเดียวเลยได้มั้ย มาไขข้อข้องใจกันดีกว่า

HTML : ID กับ Class ต่างกันยังไง

ถ้าตามที่ผมจำมาตลอดนะครับ ID จะใช้ครั้งเดียวใน 1 หน้าเว็บ ส่วน class จะใช้กี่ครั้งก็ได้ การที่ ID ใช้ครั้งเดียวใน 1 หน้าเว็บนั้นจะมีผลตอนที่เราเขียน script ต่าง ๆ (นี่คือที่ผมเข้าใจมาตลอดนะครับ ถูกผิดยังไง comment ด้านล่างบอกผมด้วยนะครับ >_<) ดังนั้นเวลาผมเขียน Code จะวางแผนว่าอะไรที่จะตั้งอะไรเป็น ID และอะไรเป็น class อย่างเช่นตัวอย่างแบบนี้ [html] <div id="header"> <h2 class="title-text">Header</h2> <p>Hello World in Header</p> </div> <div id="main"> <h3 class="title-text">Main</h3> <p>Hello World in Main</p> </div> <div id="footer"> <h4 class="title-text">Footer</h4> <p>Hello World in Footer</p> </div> [/html] ผมเห็นว่าใน 1 หน้าเว็บของเรานั้น จะมี Header, Main และ Footer ที่เดียวแน่ ๆ เลยตั้งให้เป็น ID และข้อความที่เป็นหัวข้อมีหลายที่เลยตั้งให้เป็น class ชื่อ title-text

CSS : ID กับ Class ต่างกันยังไง

คราวนี้มาดูในกรณีที่เราจะเขียน CSS นะครับ สมมติผมจะเขียน CSS ให้กับ HTML ด้านบนนะครับ

[css]

#header {background:#60A2AA;color:#FFFFFF;padding:10px;}
#main {background:#CCE2B5;color:#7CAB6A;padding:20px;}
#footer {background:#FAF2E5;color:#EC9974;padding:10px;}

.title-text {font-size:18px;}

[/css]

จะเห็นข้อแตกต่างว่า ถ้าเป็น ID แล้วเวลาใช้งาน CSS เราจะเขียนนำด้วยเครื่องหมาย # และถ้าเป็น class เราจะเขียนนำด้วย . ในการใช้งาน ผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาเป็นแบบนี้นะครับ

CSS : ลำดับความสำคัญของ style ใน CSS [1]
ผลลัพธ์จาก HTML CSS ที่เราเขียนขึ้นมา

CSS : บนล่างก็มีผลนะ

CSS นั้นจะมองความสำคัญของตัวที่เขียนด้านล่าง มากกว่าด้านบน อย่างเช่น

[css]
.title-text {font-size:18px;}

.title-text {font-size:24px;}
[/css]

แบบนี้ผลลัพธ์ที่เราได้คือ class=”title-text” จะมีขนาดตัวอักษร 24px ตามลำดับที่อยู่ด้านล่่าง

CSS : ID class ใช้คิดค่าความสำคัญ

ผมถือดีตั้งชื่อมันเองว่า ค่าความสำคัญ แต่จริง ๆ แล้วมันเรียกว่า Specificity Value โดยมันแบ่งคะแนนเป็นดังนี้

  • inline-style มีค่าความสำคัญ 1,0,0,0 ซึ่งมีค่าความสำคัญสูงสุด โดย inline-style ก็คือการใส่ style เข้าไปใน HTML อย่างเช่น

    [html]
    <div id="header" style="background:#000000;">
    [/html]

  • ID ค่าความสำคัญนั้นคือ 0,1,0,0
  • class ค่าความสำคัญนั้นคือ 0,0,1,0
  • element ต่าง ๆ อย่างเช่น h1,h2,div หรือ p ค่าความสำคัญนั้นคือ 0,0,0,1

การรวมค่านั้น ก็จะดูจากจำนวนแต่ละแบบมารวมกัน ซึ่ง 0,1,0,0 นั้นก็มีค่ามากกว่า 0,1,12,0 นะครับ เหมือนต่อให้มีกี่ class ก็แล้วแต่ แต่ถ้ากำหนด ID มาให้ตัวนึง ก็จะยึด style จาก ID ในทันที ลองมาดูการรวมค่านะครับ

[css]
ul#nav li.active a
[/css]

จะมีค่าเท่ากับ 0,1,1,3 โดย 0,1,0,0 มาจาก ID 0,0,1,0 มาจาก class และ 0,0,0,3 มาจาก ul,li และ a ดังนั้นจึงรวมกันมีค่าเท่ากับ 0,1,1,3

[css]
#header #nav .smalltext
[/css]

จะมีค่าเท่ากับ 0,2,1,0 โดย 0,2,0,0 มาจาก ID header และ nav ส่วน 0,0,1,0 นั้นมาจาก class

[html]
<li style="color:#B23D61">
[/html]

จะมีค่าเท่ากับ 1,0,0,0 โดยมาจาก inline-style

CSS : !important

แต่ก็เหมือนการ์ตูนบางเรื่องที่ตอนแรกก็มีบอส แต่ตอนหลังก็มีบอสที่ใหญ่กว่า เหมือนกันที่ inline-style อาจจะสำคัญที่สุด แต่ถ้าเราใส่ !important ลงไป ก็จะปรากฎว่า style ตัวนั้นจะมีความสำคัญที่สุดแทน โดยให้คิดว่ามันมีค่าเป็น 1,0,0,0,0 อย่างเช่น

[html]
<div id="header" style="background:#000;">
<h2 class="title-text">Header</h2>
<p>Hello World in Header</p>
</div>
<div id="main">
<h3 class="title-text">Main</h3>
<p>Hello World in Main</p>
</div>
<div id="footer">
<h4 class="title-text">Footer</h4>
<p>Hello World in Footer</p>
</div>
[/html]

[css]
#header {background:#60A2AA;color:#FFFFFF;padding:10px;}
#main {background:#CCE2B5;color:#7CAB6A;padding:20px;}
#footer {background:#FAF2E5;color:#EC9974;padding:10px;}

.title-text {font-size:18px;}
[/css]

จาก Code เราจะรู้ทันทีว่าพื้นหลังต้องเป็นสีดำแน่ ๆ เพราะมี inline-style อยู่ที่ ID header

CSS : ลำดับความสำคัญของ style ใน CSS [2]
เป็นพื้นหลังสีดำตามค่าความสำคัญ

แต่ถ้าเราใส่ !important ลงไป

[css]
#header {background:#60A2AA !important;color:#FFFFFF;padding:10px;}
#main {background:#CCE2B5;color:#7CAB6A;padding:20px;}
#footer {background:#FAF2E5;color:#EC9974;padding:10px;}

.title-text {font-size:18px;}
[/css]

CSS : ลำดับความสำคัญของ style ใน CSS [3]
!important ไม่สนใจใครสำคัญ ชั้นสำคัญสุด

Posted

in

by

Tags:

Comments

14 responses to “CSS : ลำดับความสำคัญของ style ใน CSS”

  1. jiam Avatar

    สุดยอดมากๆ เลย อาจารย์ต่ายดำ

    ผมลืมหมดแล้ว
    จะกลับมาทำ เอาอีกเยอะๆ นะพี่
    เป็นกำลังใจให้ 555

    1.  Avatar
      Anonymous

      โรงงานจมแล้วต้องมาเขียนเว็บเหรอ

  2.  Avatar
    Anonymous

    กรั้ก เอะอะเค้าก็ใส่ !important ไว้ก่อนเหมือนกัน -.-

    1.  Avatar
      Anonymous

      ทำไงได้ !important พ่อทุกสถาบันนิ

  3. i am Draft Avatar
    i am Draft

    งง ตรง “CSS : ID class ใช้คิดค่าความสำคัญ” มันดูยังไงหรอครับ มึน! ><

    1.  Avatar
      Anonymous

      งงยังไงเหรอครับ ก็นับตามค่าความสำคัญตาม step แบบที่เขียนไว้อะครับ

      ตอนนี้ยังไม่รู้ว่างงอะไร เลยอธิบายให้ไม่ถูกอะครับ

      1. i am Draft Avatar
        i am Draft

        อ๋อๆ ดูเข้าใจแล้วครับ ^^

        ผมหมายถึงค่าของ  1,0,0,0 ตอนแรกงงว่าแต่ละหลักมันนับยังไง ^__^

        แต่ว่า เรานับค่าความสำคัญแล้วเอาไปใช้ประโยชน์ยังไงอะครับ ><

        1.  Avatar
          Anonymous

          เข้าใจแล้วก็ดีละครับ ขอบคุณที่มาคอมเม้นต์นะครับ

          1. i am Draft Avatar
            i am Draft

            ครับ ^^

            ผมรอติดตามเรื่อยๆครับ

  4. […] แนะนำให้ไปอ่านหัวข้อ CSS : ลำดับความสำคัญของ style ใน CSS ก่อนเพื่อทำความเข้าใจเรื่อง ID และ […]

  5. NOoManJiE Avatar

    เค้าไม่เคยใส่ !important เลยอ่ะ – -”

  6. Punnakid Avatar
    Punnakid

    เยี่ยมเลยครับ เข้าใจง่ายดีครับ

  7. กาก Avatar
    กาก

    อ่าน 30 วิ เข้าใจอะนะ

  8. bungmoad Avatar

    คือยากถามว่า ผมมี banner ใน div id=”head” ผมกำหนด padding-left:11em; ทีนี้มันจะล้น banner อะครับ ผมเองฝึกหัดอยู่ เลยอยากขอปรึกษาหน่อยครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *